Tuesday, August 23, 2016

ครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสี

ครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสี


            ครึ่งชีวิตของธาตุ (half life) หมายถึง ระยะเวลาที่สารสลายตัวไปจนเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิมใช้สัญลักษณ์เป็น t1/2 นิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสีที่ไม่เสถียร จะสลายตัวและแผ่รังสีได้เองตลอดเวลาโดยไม่ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิหรือความดัน อัตราการสลายตัว เป็นสัดส่วนโดยตรงกับจำนวนอนุภาคในธาตุกัมมันตรังสีนั้น ปริมาณการสลายตัวจะบอกเป็นครึ่งชีวิตเป็นสมบัติเฉพาะตัวของแต่ละไอ...อ่านต่อ
การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี

    การที่ธาตุกัมมันตรังสีแผ่รังสีได้นั้นเป็นเพราะนิวเคลียสของธาตุไม่เสถียร เนื่องจากมีพลังงานส่วนเกินอยู่ภายใน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องถ่ายเทพพลังงานส่วนเกินนี้ออกไป เพื่อให้นิวเคลียสเสถียรในที่สุด พลังงานส่วนเกินที่ปล่อยออกมาอยู่ในรูปของอนุภาคหรือรังสีต่าง ๆ เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา รังสีแกมมาและไอโชโทปที่เสถียร จากการศึกษาไอโชโทปของธาตุจำนวนมาก พบว่าไอ...อ่านต่อ

การเกิดกัมมันตภาพรังสี

1. เกิดจากนิวเคลียสในสภาวะพื้นฐานได้รับพลังงาน ทำให้นิวเคลียสกระโดดไปสู่ระดับพลังงานสูงขึ้น ก่อนกลับสู่สภาวะพื้นฐาน นิวเคลียสจะคายพลังงานออกมาในรูปรังสีแกมมา
2. เกิดจากนิวเคลียสที่อยู่ในสภาพเสถียร แต่มีอนุภาคไม่สมดุล นิวเคลียสจะปรับตัวแล้วคายอนุภาคที่ไม่สมดุลออกมาเป็นอนุภาคแอลฟาหรือเบตา  อ่านต่อ

ปฏิกิริยานิวเคลียร์


ตามแบบจำลองแสดงปฏิกิริยานิวเคลียร์นี้ lithium-6 (6
3
Li
) และ ดิวเทอเรียม (2
1
H
) ทำปฏิกิริยากันทำให้เกิดนิวเคลียส 8
4
Be
 ที่มีแรงกระตุ้นขนาดกลางอย่างสูง จากนั้นมันจะสลายทันทีกลายเป็นอนุภาคแอลฟาของ helium-4 (4
2
He
) 2 ตัว โปรตอนถูกแสดงด้วยลูกกลมสีแดง และนิวตรอนถูกแสดงด้วยลูกกลมสีน้ำเงิน
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ (อังกฤษNuclear reaction) ในสาขาฟิสิกส์นิวเคลียร์และเคมีนิวเคลียร์ หมายถึงกระบวนการที่นิวเคลียส 2 ตัวของอะตอมเดียวกัน หรือนิวเคลียสของอะตอมหนึ่งและอนุภาคย่อย ของอีกอะตอมหนึ่งจากภายนอกอะตอมนั้น ชนกัน ทำให้เกิดนิวเคลียสใหม่หนึ่งตัวหรือมากกว่าหนึ่งตัวที่มีจำนวนอนุภาคย่อยแตกต่างจากนิวเคลียสที่เริ่มต้นกระบวนการ ดังนั้นปฏิกิริยานิวเคลียร์จะ...อ่านต่อ

Monday, August 22, 2016

เเบบฝึกหัด

1.โรงงานถลุงพลวงและสังกะสีมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมจากสาเหตุใดมากที่สุด
          1. น้ำเสียและสารพิษปนเปื้อน
          2. แก๊ส CO2
          3. เขม่า หมอก ฝุ่น
          4. SO2

2.ข้อใดเป็นแร่ที่แบ่งตามประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
          1. แร่ประกอบหิน
          2. แร่อุตสาหกรรม
          3. แร่เชื้อเพลิง
          4. ถูกทั้ง ก และ ข

3. แร่ชนิดใดที่สามารถนำมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการถลุง
          1. เหล็ก
          2. ดีบุก
          3. ควอตซ์
          4. สังกะสี

4. สารประกอบชนิดใดที่ใช้ในการถลุงแร่
          1. ถ่านพีต
          2. ถ่านหินลิกไนต์
          3. ถ่านโค้ก
          4. ถ่านแอนทราไซต์

5. แร่ที่จะนำไปใช้ได้จะต้องผ่านกรรมวิธีถลุงเสียก่อน คือ
          1. เพชร ทองแดง เหล็ก
          2. ดีบุก ปูนขาว ยิบซัม
          3. เพชร ไพลิน รัตนชาติ
          4. เหล็ก ทองแดง ดีบุก

6. ถ้านำแร่แคสซิเทอไรด์มาถลุงจะได้อะไร
          1. ดีบุก
          2. สังกะสี
          3. ทองแดง
          4. ตะกั่วส่วนบนของฟอร์ม

7. สารปนเปื้อนที่พบในแร่สังกะสีคือสารใด
          1. แคดเมียม ตะกั่ว พลวง
          2. แทนทาลัม ไนโอเบียม เซอร์โคเนียม
          3. ตะกั่ว แทนทาลัม
          4. พลวง แคดเมียม ทองแดง

8. ในอุตสาหกรรมนิยมใช้ธาตุใดไปรีดิวซ์ Ta2O5 และ Nb2O5 ให้เป็นโลหะ Ta และโลหะ Nb
          1. โซเดียม
          2. โพแทสเซียม
          3. แคลเซียม
          4. แมกนีเซียม

9. ข้อใดเป็นความแตกต่างของทับทิมและไพลิน
          1. ความแข็ง
          2. มลทิน
          3. ชนิดของแร่
          4. ดัชนีหักเห

10. ธาตุในข้อใดที่ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิกส์
          1. Pb
          2. Sb
          3. Cd
          4. Zr


ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

                 นักเรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับธาตุและสมบัติของธาตุต่างๆ มาแล้ว ต่อไปนี้จะศึกษาธาตุและสารประกอบของธาตุที่สำคัญบางชนิด ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์สัตว์และพืช พร้อมทั้งศึกษาถึงผลกระทบที่จะมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม...อ่านต่อ

การทำนายตำแหน่งและสมบัติของธาตุในตารางธาตุ

          การศึกษาสมบัติของธาตุตามตารางธาตุ จะช่วยในการทำนายสมบัติของธาตุได้ ถ้ารู้ตำแหน่งของธาตุนั้นในตารางธาตุหรือถ้ารู้สมบัติบางประการของธาตุอาจพิจารณาตำแหน่งของธาตุได้ ดังตัวอย่างการจัดตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนที่ศึกษามาแล้ว ต่อไปนักเรียนจะใช้ข้อมูลเกี่ยวกับสมบัติของธาตุมาทำนายตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุได้จากตัวอย่าง...อ่านต่อ